การขออนุญาตพาดสายสัญญาณ Fiber Optic

          สายใยแก้วนำแสง หรือ สายไฟเบอร์ออฟติก (Fiber Optic) คือสายสัญญาณที่ผลิตมาจากแก้วและหุ้มด้วยใยพิเศษที่ป้องกันการกระแทกและฉนวน โดยมีคุณสมบัติเหมือนเป็นท่อเพื่อส่งสัญญาณแสงจากต้นทางไปยังปลายทาง และมีอุปกรณ์ที่ต้นทางและปลายทางทำหน้าที่แปลงสัญญาณแสงเป็นสัญญาณข้อมูลเพื่อนำไปใช้งาน สายใยแก้วนำแสงจะมีต้นทุนที่ต่ำมากและส่งข้อมูลได้เป็นปริมาณมากๆ ซึ่งด้วยคุณสมบัติดังกล่าวทำให้ถูกนำมาใช้เพื่อส่งข้อมูลในโครงข่ายคอมพิวเตอร์ (Network) และสื่อสารข้อมูล

          ในการนำมาใช้ในการสื่อสารคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคมนั้น ควรเลือกติดตั้งในบริเวณที่สะดวกในการเข้าถึงตลอดเวลาและอยู่ในสถานที่ที่มั่นคง เช่น เสาของอาคาร หรือฝาผนัง เป็นต้น การติดตั้งสายสื่อสารจะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในการติดตั้งของบนเสาไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวงเพื่อป้องกันการรื้อถอนและค่าใช้งานที่ตามมาในภายหลัง

การขออนุญาตติดตั้งสายไฟเบอร์ออฟติก

 

ทำไมต้องขออนุญาตพาดสายสัญญาณ Fiber Optic

          เนื่องจากการติดตั้งสายสื่อสารโทรคมนาคมที่ใช้ในกิจการต่าง ๆ  ซึ่งรวมถึงสายใยแก้วนำแสง (Fiber optic) อาจต้องมีการพาดผ่านหรือติดตั้งบนเสาไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 

          โดยเพื่อให้มีการจัดระเบียบสายให้เป็นไปอย่างเรียบร้อย และทำการติดตั้งตามมาตรฐานไปในแนวทางเดียวกันของผู้ติดตั้ง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จึงออกระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ว่าด้วยหลักเกณฑ์การพาดสายและหรือติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม บนเสาไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

          รวมทั้งการระเบียบ ไม่ได้กล่าวถึงแนวทางติดตั้ง แต่ยังช่วยอำนวยความสะดวกไปยังการซ่อมบำรุง ที่หากติดตั้งอย่างถูกวิธี จะทำให้การซ่อมบำรุงเป็นไปอย่างง่ายดาย และไม่เกิดอันตรายแก่ผู้ซ่อมบำรุงและผู้ที่เกี่ยวข้อง

          โดยระเบียบนี้ บังคับใช้กับ สายสื่อสารโทรคมนาคม คือ 1. สายนำสัญญาณ ตัวนำทองแดง (Copper) 2. ตัวนำเส้นใยแก้วนำแสง (Optical Fiber) 3. สายที่เกี่ยวข้องกับกิจการกระจายเสียง วิทยุ โทรทัศน์

 

สรุปข้อกำหนดในการพาดสายสัญญาณ

ข้อกำหนดเบื้องต้น ในการพาดผ่านสายสัญญาณ มีดังนี้ 

  1. การพาดสายและหรือติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมต้องดำเนินการตามแบบที่ได้รับอนุญาตจาก กฟภ. เท่านั้น และการพาดเส้นใยแก้วนำแสงต้องมอบแกน (Core) ให้ กฟภ. ใช้งานภายใน 30 วัน ในเส้นทางที่ กฟภ. แจ้งความจำนง โดยไม่มีเงื่อนไขจำนวนแกน (Core) ที่ต้องมอบให้ กฟภ. ใช้งานเป็นดังนี้
         – เส้นใยแก้วนำแสงที่มีจำนวนแกน (Core) 6 – 12 แกน (Core) ต้องมอบให้การไฟฟ้า ส่วนภูมิภาค ใช้งาน 2 แกน (Core)
    – เส้นใยแก้วนำแสงที่มีจำนวนแกน (Core) มากกว่า 12 แกน (Core) ต้องมอบให้การไฟฟ้า ส่วนภูมิภาค ใช้งาน 4 แกน (Core)
  2. การพาดสายสื่อสารโทรคมนาคมบนเสาไฟฟ้าตามเส้นทางที่ได้รับอนุญาต หากมีสายกระจาย (Drop Wire) ทองแดงของผู้ขออนุญาตที่พาดอยู่เดิมเกินที่กำหนด 10 คู่สาย ผู้ขออนุญาตต้องดำเนินการเปลี่ยนแปลงสายกระจาย (DropWire) เป็นสายเคเบิลทองแดงก่อน หรือหากมีสายกระจาย (DropWire) เส้นใยแก้วนำแสงของผู้ขออนุญาตที่พาดอยู่เดิมเกินที่กำหนด 5 เส้น ผู้ขออนุญาตต้องดำเนินการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้ไม่เกิน 5 เส้นก่อน
  3. กฟภ. จะพิจารณาอนุญาตให้เฉพาะเสาไฟฟ้าของ กฟภ. ถ้าเป็นเสาของหน่วยงานอื่นๆ ปักอยู่ในแนวเดียวกัน ให้ขออนุญาตจากหน่วยงานนั้นๆ โดยตรง และให้ใส่สัญลักษณ์เสาของหน่วยงานนั้นๆ ลงในแผนผัง และ ข้อมูลที่เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์
  4. ห้ามดัดแปลงโครงสร้างเสาของ กฟภ. เช่น เจาะรูบนเสาเพิ่มเติม
  5. ห้ามนำสายสื่อสารโทรคมนาคมใต้ดินขึ้นที่เสาไฟฟ้าของ กฟภ. ยกเว้น ต้น Riser Pole (จุดสิ้นสุดของการ ก่อสร้างระบบเคเบิลใต้ดิน เพื่อที่จะเชื่อมเข้ากับสายไฟฟ้าระบบเหนือดิน) ของระบบสื่อสารโทรคมนาคมของ กฟภ.
  6. ห้ามติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมบนเสาไฟฟ้าต้นที่มีการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกัน และสวิตซ์ตัดตอน
  7. ห้ามติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารบนเสาไฟฟ้าต้นที่มีการติดตั้งหม้อแปลง หรือตามที่ กฟภ. มีมาตรฐาน
  8. หากต้องมีการพาดสายสื่อสารโทรคมนาคมบนเสาไฟฟ้าต้นที่ติดตั้งหม้อแปลง จะต้องดำเนินการติดตั้งตามหลักเกณฑ์
  9. การพาดสายสื่อสารโทรคมนาคมผ่านเสาไฟฟ้าต้น Riser Pole (จุดสิ้นสุดของการ ก่อสร้างระบบเคเบิลใต้ดิน เพื่อที่จะเชื่อมเข้ากับสายไฟฟ้าระบบเหนือดิน) และต้นอุปกรณ์ในระบบการจ่ายไฟของกฟภ. ให้เป็นไปตามที่ กฟภ. กำหนด
  10. การแยกสายกระจาย (Drop Wire) จากเสาไฟฟ้า ให้แยกสายเพียงด้านเดียวถ้ามีความจำเป็นให้แยกได้เพียงสองด้านเท่านั้น เพื่อรักษาที่ว่างของเสาไฟฟ้าให้พนักงาน กฟภ. ขึ้นปฏิบัติงานบนเสาได้โดยสะดวก และปลอดภัย
  11. ระดับการพาดสายและติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม อ้างอิงตามระดับความสูงของเสาไฟฟ้า
  12. สำหรับทางเดินรถ หรือถนนทางหลวงที่มีรถบรรทุก หรือรถรับส่งผู้โดยสารขนาดใหญ่ผ่าน ต้องมีระยะ ต่ำสุดของสายสื่อสารโทรคมนาคมไม่น้อยกว่า 5.50 เมตร จากระดับทางเดินรถหรือถนนหลวงแล้วแต่กรณี
  13. ให้ผู้ขออนุญาตจัดทำแผ่นป้ายแสดงสถานะการได้รับอนุญาต และ Cable Marker แสดงสัญลักษณ์ของ หน่วยงานเจ้าของสายสื่อสารโทรคมนาคม ตามแบบที่ กฟภ. กำหนด

การติดตั้งสายไฟเบอร์เพื่อการนำไปใช้งาน

          สำหรับระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ว่าด้วยหลักเกณฑ์การพาดสายและหรือติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม บนเสาไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ไม่เพียงแต่ช่วยจัดระเบียบของสายต่างๆ ที่พาดผ่านบนเสาไฟฟ้า

          แต่ระเบียบยังครอบคลุมถึงหลักการติดตั้งอย่างถูกวิธี ให้เป็นไปตามมาตรฐาน เนื่องจากการติดตั้งสายต่างๆ ที่ผิดวิธี อาจส่งผลกระทบต่อประชาชนที่ต้องเดินผ่านเสาไฟฟ้าต่างๆ ร่วมถึงผู้ที้ใช้รถใช้ถนน ที่อาจทำให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ที่ผ่านไปผ่านมาได้ไม่มากก็น้อย

          ดังนั้น ผู้ที่พาดผ่านหรือติดตั้งบนเสาไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ควรมีการขออนุญาต และปฏิบัติตามหลักการใน ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ว่าด้วยหลักเกณฑ์การพาดสายและหรือติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม บนเสาไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค อย่างเคร่งครัด

สำหรับผู้ที่ต้องการอ่านหลักการปฏิบัติฉบับเต็ม สามารถอ่านได้จาก ระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ว่าด้วยหลักเกณฑ์การพาดสายและหรือติดตั้งอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคม บนเสาไฟฟ้าของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้ในคู่มือนี้ http://www.thnpl.go.th/news/doc_download/a_030919_105610.pdf

และถ้าหากคุณกำลังมองหาอุปกรณ์ Fiber Optic คุณภาพสูง ที่เหมาะกับการใช้งานของคุณ คุณสามารถติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมและรับคำปรึกษาฟรี ได้ที่

บริษัท โฟคอมม์ (ประเทศไทย) จำกัด

โทร : 02-973-1966

Admin : 063-239-3569

E-mail : info@focomm-cabling.com

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *