การเลือกสาย LAN เพื่อใช้งานใน Data Center

การเลือก LAN ในการใช้งาน Data Center

          ข้อมูลมากกว่า 2.5 quintillion bytes ถูกสร้างขึ้นทุกวัน นั่นเป็นตัวเลขที่น่าเหลือเชื่อ สิ่งที่น่าประทับใจไม่แพ้กัน คือ ประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ของข้อมูลทั้งหมดในโลกถูกสร้างขึ้นในช่วงสองปีที่ผ่านมา นั่นเป็นเพราะอัตราที่เราสร้างข้อมูลใหม่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อเผชิญกับจำนวนที่ล้นหลาม อีเธอร์เน็ตมีความจำเป็นที่จะต้องมีจุดยืนที่แข็งแกร่งในด้านเครือข่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครือข่ายในการรับ-ส่งข้อมูลใน Data Center ที่เป็นศูนย์ข้อมูลเครือข่ายที่สำคัญ และหัวใจหลักของทุกๆองค์กร 

          ดังนั้นแล้ว การที่จะมีความแข็งแกร่งในด้านเครือข่ายได้นั้น ระบบอีเธอร์เน็ตจะต้องมีการรับ-ส่งข้อมูลที่ราบรื่น ซึ่งสอดคล้องกับความเร็วของการรับ-ส่งข้อมูล และสิ่งที่สามารถทำให้ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลเร็วขึ้นได้ คือ สายเคเบิลข้อมูล หรือ สาย LAN นั่นเอง

          ทุกๆคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าสาย LAN คือ สายที่ใช้สำหรับการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายต่างๆ ที่มักใช้กับคอมพิวเตอร์ หรืออินเทอร์เน็ต เพื่อรับ-ส่งข้อมูล หรือเชื่อมต่อเข้ากับ Data Center ซึ่งมีผลกับความสะดวกสบาย และความรวดเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลอย่างมาก แต่สายแลนแบบไหนล่ะที่เหมาะที่สุดสำหรับการใช้งานใน Data Center ในวันนี้เราจะพาทุกคนมาทำความรู้กจักกันกับ ประเภทต่างๆของสายแลน และสายแลนแบบไหนที่เหมาะกับการใช้งานใน Data Center มากที่สุด

 

การแบ่งประเภทของสาย LAN ตาม Bandwidth ที่สามารถรองรับสัญญาณได้

          สายแลนในปัจจุบันจะมีรุ่นบอกบริเวณสาย จะเห็นได้จากคำว่า CAT ตามด้วยตัวเลขอย่าง CAT5 CAT6 , CAT6a พวกนี้พิมพ์อยู่บนสาย นอกจากจะแบ่งได้ว่ามันสามารถส่งความเร็วได้เท่าไหร่ มี Bandwidth ขนาดไหน รุ่นของสายแลนนี้ยังบอกได้ด้วยว่าความยาวสายสูงสุดนั้นทำได้ที่กี่เมตร เนื่องจากยิ่งส่งความเร็วได้มาก มี Bandwidth สูง ก็ยิ่งลดความยาวสายสูงสุดที่ทำได้ลง แต่ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีสายแลนรุ่นใหม่ๆ ออกมา ทำให้ความเร็วที่ส่งได้สูง ก็มีความยาวสายสูงสุดเยอะตามไปด้วย โดยจะมีรุ่นไหนบ้างที่น่าใช้งานในปัจจุบัน เรามาทำความรู้จักกัน 

  • สายแลน Category 5 (CAT 5) 

          คือสาย LAN (UTP) ที่ถูกผลิตขึ้นมาตามมาตรฐานของ Fast Ethernet (100 Mbit/sec) โดยเฉพาะ เหมาะที่จะใช้งานกับEthernet Network ที่มี speed 100 Mbit/sec (Interface แบบ Fast Ethernet) เป็นหลัก แต่หากจะนำมาใช้กับ Ethernet Network ที่มี speed 1,000 Mbit/sec หรือ 1 Gbit/sec (Interface แบบ  Gigabit Ethernet) นั้นก็พอใช้ได้ แต่ประสิทธิภาพอาจจะไม่ดีเท่าไหร่ 

          สายแลน CAT5 เป็นสายแลน CAT รุ่นแรกเริ่มของการใช้สายเชื่อมต่อในการส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์ตัวรับสัญญาณทางปลายสาย โดยวัสดุของสาย CAT5 รุ่นนี้ จะใช้สายทองแดงวางหัวแลนเรียงกันเป็นทอดๆ มีคุณสมบัติอัตราการส่งสัญญาณด้วยความเร็วสายแลน โดยปัจจุบันสายแลน CAT5 ไม่ค่อยนิยมใช้กันในปัจจุบันเพราะเนื่องจากอัตราความเร็วการส่งข้อมูลนั้นต่ำเกินไปที่จะใช้งานในยุคนี้แล้ว

  • สายแลน Category 5E (CAT 5E) 

          คือสาย LAN (UTP) ทองแดงที่มีความเร็วต่ำ ซึ่งพัฒนาต่อมาจากสาย CAT 5 โดยสาย CAT5E รุ่นนี้ จะใช้สายทองแดงวางหัวแลนเรียงกัน มีหลักการทำงานที่เพิ่มประสิทธิภาพการส่งข้อมูลไม่ว่าจะเป็นภาพ เสียง วิดีโอ แบบมีความละเอียดที่สูงที่สุด ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับการใช้การอินเทอร์เน็ตหลายๆอย่างในเวลาเดียวกัน เช่น เปิดเว็บไซต์ค้นหาข้อมูลอ้างอิงเพื่อใช้ในการเรียนการสอนพร้อมกับเปิด VDO ควบคู่ไปด้วยส่วนนี้ก็สามารถทำได้เช่นกัน และในส่วนของ Bandwidth ระยะห่างจะไม่เกิน 100 เมตร ที่ความเร็ว 100-200 MHz สูงสุด 10 Gbps

          ปัจจุบัน สาย CAT 5E มีระดับความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลอยู่ในระดับทั่วไป ทำให้ประสิทธิภาพการดำเนินงานของสายแลน CAT 5E อยู่ในระดับ ดี-ปานกลาง และเนื่องจากมีราคาค่าใช้จ่ายต่อต้นทุนต่ำจึงเป็นสายแลน CAT ที่ถูกนิยมใช้มากที่สุดอีกหนึ่งชนิด

  • สายแลน Category 6 (CAT 6) 

          คือสาย LAN (UTP) ทองแดงที่มีความเร็วต่ำ เป็นสายแลน CAT Gen 6 รุ่นแรก เป็นรุ่นที่ปรับเปลี่ยนการวางสายทองแดงเป็นการวางหัวแลนเรียงสลับกันเป็นฟันปลา ผลิตขึ้นมาตามมาตรฐานของ Gigabit Ethernet ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับ Bandwidth อยู่ที่ 250 MHz ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 10 Gbps ขยายการส่งข้อมูลภายในระยะพื้นที่สูงสุด 100 ม. แต่สามารถดึงประสิทธิภาพการใช้งานความเร็วสูงสุดภายในระยะรัศมีอยู่ที่ 55 ม.เท่านั้น

  • สายแลนCategory 6A (CAT 6A)

          คือสาย LAN (UTP) ทองแดงที่มีความเร็วสูง ถูกพัฒนามาจากรุ่นเดิมอย่าง CAT6 ที่เพิ่มระบบซอฟแวร์ อย่างโปรโตคอล(Protocol) ภายในตัวสาย โดยตัวระบบโปรโตคอลจะคอยรับข้อมูลที่ถูกส่งมาและทำการเรียบเรียงลำดับข้อมูล รวมถึงตรวจสอบความผิดพลาดระหว่างการส่งข้อมูลไปยังตัวอุปกรณ์รับปลายสายผ่าน IP Network โดยมีสาย Html รองรับการใช้งาน และรองรับ Bandwidth ได้ถึง 500 MHz สูงสุดถึง 10 Gbps ในระยะห่างไม่เกิน 100 เมตร นอกจากนี้ตัวสายแลน CAT 6A ยังมีฉนวนประกอบที่ช่วยลดสัญญาณรบกวนระหว่างการส่งข้อมูล ทำให้การส่งข้อมูลมีความเสถียรมากที่สุด 

  • สายแลน LAN CAT 6E

          เป็นสายแลน CAT ที่ถูกพัฒนามาจากสาย CAT 6A เพื่อเพิ่มรัศมีอาณาเขตการใช้ในวงกว้างที่มากขึ้น มีความเร็วในการส่งข้อมูลแบบเป็นระเบียบ และแบบกระจาย แยกอุปกรณ์รับข้อมูลปลายทางเป็นเครือข่าย Data Center ที่คอยกรองข้อมูล และจัดระเบียบการส่งสัญญาณหลายๆช่องทางในเวลาเดียวกัน สายแลน CAT 6E มีความเร็วและความถี่สูงสุดถึง 10 Gpbs./BW 550 Mhz เป็นสายที่นิยมใช้ในการวางระบบภายในพื้นที่อาคาร สำนักงาน และองค์กรขนาดใหญ่ ที่มีการประมวลผลการส่งข้อมูลหลายๆช่องทาง

  • สายแลนCategory 7 (CAT 7) 

          คือสาย LAN (UTP) ทองแดงที่มีความเร็วต่ำ ที่ถูกผลิตเป็นสาย Ethernet ในการเชื่อมมต่ออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบเป็นเครือข่ายวงกว้าง ซึ่งเป็นสายแลน CAT รุ่นพิเศษที่ใช้สายเคเบิลร่วมกับสายแลน CAT 6 CAT 5 และ CAT 5E ได้พอดี ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับ Bandwidth ที่ 600 MHz ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 10 Gbps ในระยะห่างไม่เกิน 100 เมตร

  • สายแลน Category 8 (CAT 8) 

          คือสาย LAN (UTP) ทองแดงที่มีความเร็ว และเป็นสายแลน CAT รุ่นที่ถูกผลิตล่าสุด โดยเป็นสายแลนที่ตอบโจทย์ต่อการใช้งานแบบองค์กรที่มีศูนย์รวม Data Center ขนาดใหญ่ เนื่องจากเป็นสายแลนที่ใช้หัวเสียบเชื่อมกับสายแลน CAT รุ่นอื่นๆได้อย่างไม่มีปัญหา ถูกออกแบบมาเพื่อรองรับ Bandwidth อยู่ที่ 2GHz ความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 25/40 Gbps ในระยะห่างไม่เกิน 30 เมตร

สายแลนที่เหมาะกับการใช้งาน Data center

 

สาย LAN ที่เหมาะกับการใช้งานใน Data Center

          จากการแบ่งประเภทของสาย LAN ตาม Bandwidth ที่สามารถรองรับสัญญาณได้ เราจะเห็นได้ว่าสายแลนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการใช้งานใน Data Center คือ สาย LAN Category 8 (CAT 8) เนื่องจากเป็นสายแลน CAT รุ่นใหม่ที่ถูกผลิตขึ้นมาล่าสุด และเป็นสายแลนที่ถูกออกแบบมาให้ตอบโจทย์ต่อการใช้งานแบบองค์กรที่มีศูนย์รวม Data Center ขนาดใหญ่นั่นเอง

สาย CAT 8 คืออะไร

          CAT8 คือ สายเคเบิล IEEE Ethernet รูปแบบใหม่ล่าสุดที่ประกอบด้วยทองแดง เป็นมาตรฐานสายเคเบิลอีเทอร์เน็ตที่ทันสมัยและเร็วที่สุดที่มีอยู่ในปัจจุบัน มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในการส่งสัญญาณเมื่อเปรียบเทียบกับเวอร์ชันก่อนหน้าของ Cat7 และ Cat6A สายCAT8 ใช้ตัวเชื่อมต่อ RJ45 ทำให้สามารถใช้หัวเสียบเชื่อมกับสายแลน CAT รุ่นอื่นๆ ได้อย่างไม่มีปัญหา 

          ความแตกต่างที่สำคัญระหว่างสายเคเบิล CAT8 Ethernet และรุ่นก่อน คือ การหุ้มฉนวน การชีลด์อาจเป็นแบบชีลด์คู่ หรือคู่ตีเกลียวแบบชีลด์ในปลอกหุ้มสายเคเบิล นอกจากนี้ยังใช้ชั้นวัสดุนำไฟฟ้าเพื่อป้องกันสายเคเบิลจากการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยให้มีความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลที่สูงขึ้น และช่วยลดข้อผิดพลาด สายเคเบิลอีเทอร์เน็ต CAT8 แบบคู่บิดถูกห่อด้วยกระดาษฟอยล์เพื่อลดสัญญาณรบกวน ทำให้มีประสิทธิภาพเป็นสองเท่า ข้อเสียเดียวกันก็คือ Cat8 Ethernet มีความแข็งและไม่ยืดหยุ่นและยากต่อการรองรับในพื้นที่แคบ 

สาย CAT 8 เร็วแค่ไหน?

          ความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูล Cat8 สูงถึง 40Gbps ซึ่งเร็วกว่า Cat7 และเร็วกว่า Cat6a รุ่นก่อนถึง 4 เท่า Cat8 รองรับแบนด์วิธสูงสุด 2 GHz ซึ่งมากกว่า Cat6a ถึง 4 เท่า

สาย CAT 8

ข้อมูลจำเพาะมาตรฐานของสาย CAT 8

  • ตัวเชื่อมต่อที่ใช้สำหรับสาย Cat8 Ethernet จะเป็น RJ45 
  • Cat8 Ethernet รองรับแบนด์วิดธ์ 2 GHz 
  • มีให้เลือกทั้งแบบสายชีลด์คู่บิดเกลียว หรือสายชีลด์แบบถักเปีย 4 คู่
  • อัตราข้อมูลสูงสุดที่สามารถส่งได้จะอยู่ที่ประมาณ 40 GHz
  • ขนาดสายไฟเฉลี่ยจะอยู่ที่ 22 AWG

การใช้สาย CAT 8 เพื่อใช้งานใน Data center  

          สายเคเบิลอีเทอร์เน็ต CAT8 นั้นเป็นสายที่มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลสูง ดังนั้นจึงเหมาะสมที่สุดที่จะใช้งานใน Data Center และห้องเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งมีเครือข่าย 25GBase‑T และ 40GBase‑T ทั่วไป และการที่มีขั้วต่อ RJ45 ของสายอีเธอร์เน็ต CAT8 ทำให้สามารถปรับให้เข้ากับอุปกรณ์เครือข่ายทุกประเภท เช่น สวิตช์ และเราเตอร์ นอกจากนี้สาย CAT8 ยังเหมาะสำหรับเครือข่ายที่กำลังเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับโหลดข้อมูลที่สูงขึ้น หากธุรกิจของคุณคาดการณ์การเติบโต การอัพเกรดสายเคเบิลรับ-ส่งข้อมูลจากสาย CAT6 หรือ CAT7 เป็นสายเคเบิลอีเทอร์เน็ต CAT8 จะคุ้มค่าคุ้มราคาเนื่องจาก สาย CAT8 สามารถอัพเกรดเครือข่ายจาก 10G เป็น 25G หรือ 40G ได้โดยไม่จำเป็นต้องยกเครื่องอุปกรณ์ใหม่ทั้งหมด 

          อีกส่วนสำคัญ คือ ความเร็วในการส่งข้อมูลที่นำเสนอโดยสายเคเบิล CAT8 เท่ากับ 2 พันล้านสัญญาณต่อวินาที เป็นการอัพเกรดที่จำเป็นจากสาย CAT รุ่นก่อนหน้าทั้งหมด ประสิทธิภาพของสายเคเบิล CAT8 นั้นมีแนวโน้มดีและดีกว่าสายเคเบิล CAT7 มาก ซึ่งทำให้ขาดไม่ได้สำหรับแอปพลิเคชันทางธุรกิจที่ต้องการแบนด์วิธที่สูงกว่าอย่างมาก 

 

          อ่านมาถึงตรงนี้ทุกคนคงทราบกันดีแล้วว่าสาย LAN แบบไหนที่เหมาะกับการใช้งานใน Data Center มากที่สุด และถ้าหากคุณยังมีข้อสงสัย หรือหรือต้องการปรึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับสาย LAN หรืออุปกณ์อิเล็กทรอนิคต่างๆ คุณสามารถติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมและรับคำปรึกษาฟรี ได้ที่

บริษัท โฟคอมม์ (ประเทศไทย) จำกัด

โทร : 02-973-1966

Admin : 063-239-3569

E-mail : info@focomm-cabling.com

Leave a Comment

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *