สายแลน (LAN) เป็นสายอินเทอร์เน็ตชนิดหนึ่งที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตกับทีวีและคอมพิวเตอร์ ถือเป็นอุปกรณ์ที่ใช้กันแพร่หลายอย่างมากในการรับ-ส่งข้อมูลต่างๆ ของข้อมูลดิจิตอลไม่ว่าจะเป็นการทำงาน รับข่าวสาร หรือในการรับชมสื่อต่างๆ ส่วนมากแล้วจะนิยมใช้ตามบ้านเรือน ออฟฟิศสำนักงาน การเรียนการสอนในห้องเรียน ซึ่งมีผลกับความสะดวกสบาย และความรวดเร็วในการรับส่งข้อมูลอย่างมาก ถ้าหากมีปัญหาในการเชื่อมต่อบนอุปกรณ์เหล่านี้ ที่ทำให้ไม่สามารถรับ-ส่งข้อมูลได้ อาจจะกลายเป็นปัญหาใหญ่ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคอุตสาหกรรม หรือด้านระบบโทรคมนาคม ที่มีการใช้สายแลน (LAN) ในการรับ-ส่งข้อมูลอย่างมหาศาล เราจึงควรที่จะทดสอบสายแลน (LAN) ที่ใช้งานของเราให้ดีเพื่อยับยั้งไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดในการใช้งานได้
ในวันนี้เรามาทำความรู้จักถึงวิธีการทดสอบสายแลน (LAN) กันว่าทำอย่างไร มีอุปกรณ์อะไรบ้าง และอ่านค่าการทดสอบอย่างไร
ทำไมต้องทดสอบสายแลน (LAN)
หลายท่านคงสงสัยว่าทำไมเราต้องมีการเทสสายแลน หลังจากการติดตั้ง เพราะปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ไม่ได้เป็นแค่อุปกรณ์ที่ใช้งานอินเทอร์เน็ตเท่านั้น แต่ยังเป็นจุดศูนย์กลางในการเชื่อมโยงอุปกรณ์ และ แชร์ไฟล์หรือข้อมูลต่างๆ ภายในองค์กรอีกด้วย รวมถึงสามารถนำไปเชื่อมต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ เพื่อให้ทำงานเป็นระบบได้ การติดตั้งสายแลน ที่ไม่ได้มาตรฐานก็ทำให้เกิดปัญหาหลายๆ อย่างตามมา เช่น เกิดปัญหาการเชื่อมต่อได้บ้างไม่ได้บ้าง, เกิดปัญหา Retransmit, CRC Error ขึ้นในระบบ, หรือ PoE Switch ไม่สามารถทำงานได้ เป็นต้น จึงจำเป็นต้องมีการเช็คสายแลน และการทดสอบสายแลน ด้วยเครื่องเช็ค ทดสอบสายแลนเพื่อให้มั่นใจได้ว่า ข้อมูลที่ถูกส่งผ่านสายแลนนั้นมีความเสถียรสูงสุด และส่งผ่านข้อมูลได้อย่างแม่นยำถูกต้อง เพราะปัจจัยเหล่านี้เป็นที่สนใจอย่างมากในองค์กรหรือบริษัทที่มีการควบคุม ISO
เครื่องทดสอบสายแลน เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยในการสังเกตการเชื่อมต่อ ความเสียหายของสายแลนบางประเภท และยังสามารถนำมาทดสอบสายเคเบิลใยแก้วนำแสง (Fiber optic) ระบุความเสียหายและการเชื่อมต่อที่ไม่ถูกต้องภายในสายแลนได้ นอกจากนี้เครื่องทดสอบสายแลน ยังมีประโยชน์ในการวิเคราะห์ทราฟฟิกของเครือข่าย และช่วยในการติดตามที่อยู่ IP
ดังนั้นการทดสอบสายแลน หรือการตรวจเช็คสายแลนจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อให้สามารถเชื่อมต่อได้อย่างปลอดภัย และมีคุณภาพมากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ปัจจุบันที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของอุปกรณ์ที่ผู้ใช้งานสายแลนใช้ในการเชื่อมต่อ เช่น การควบคุมระยะไกล คอมพิวเตอร์ และระบบโทรคมนาคม เป็นต้น
สายแลน (LAN) แบบไหนบ้างที่ควรทดสอบ
- สายแลนที่ใช้ภายนอกอาคาร สายแลนที่ใช้ภายนอกอาคารนี้ เป็นสายแลนกลางแจ้ง ถูกใช้ในการเดินสายเคเบิลเครือข่ายภายนอกอาคาร สายเคเบิลเหล่านี้มีสายที่หนากว่าเมื่อเทียบกับสายแลนภายในอาคาร สายแลนรุ่นนี้สามารถกันน้ำได้ และสามารถป้องกันสภาพแวดล้อมที่เลวร้ายได้ นอกจากนี้ยังสามารถฝังไว้ใต้ดินได้ สายแลนกลางแจ้งมีอายุการใช้งานยาวนาน ทนทาน และใช้งานง่ายโดยเฉพาะสำหรับการติดตั้ง
- สายแลนที่ใช้ภายในอาคาร สายแลนในอาคารเป็นสายแลนที่ได้รับการออกแบบสำหรับสภาพอากาศที่ค่อนข้างปานกลาง และอุณหภูมิในพื้นที่ในร่มคือสิ่งที่สายเคเบิลเหล่านี้สามารถรักษาไว้ได้ โดยไม่เสื่อมสภาพหรือก่อให้เกิดอันตรายจากไฟไหม้ ยิ่งไปกว่านั้น สายเคเบิลในร่มจะต้องทนไฟด้วย
ระดับของเครื่องมือทดสอบสายแลน
เครื่องมือทดสอบสายแลน ก็มีหลายระดับด้วยกัน ซึ่งทางเทคนิคแล้ว มันถูกแบ่งเป็น 3 ระดับใหญ่ๆ ได้แก่
- Verification Level
- Qualification Level
- Certification Level
ซึ่งเครื่องมือทดสอบแต่ละระดับ ก็จะทดสอบในระดับที่แต่งต่างกันไปตามรูปภาพด้านล่าง
วิธีการทดสอบสายแลน (LAN)
โดยปกติเมื่อมีการเดินสายแลนเสร็จเรียบร้อยแล้ว เพื่อให้มั่นใจว่าเราเดินสายแลนถูกต้อง และสายแลนที่ใช้ไม่มีการเสียหาย เราจึงจำเป็นต้องทดสอบสายแลน (LAN) เพื่อเช็คสายแลน ด้วยเครื่องทดสอบสายแลน ซึ่งโดยปกติแล้วจะแบ่งได้หลักๆ ดังนี้
- Cable Tester
- Cable Tester จาก Cable Tester American Standard wire Gauge (AWG)
- เครื่องเช็คสายแลน FLUKE DTX-1800
โดยทั่วไปแล้ว เครื่องทดสอบสายแลนพวกนี้จะสามารถบอกได้ว่าสายแลนที่เราเดิน หรือใช้นั้นมีความเสียหายหรือไม่ และระบบเครือข่ายสายแลนทำงานผิดปกติหรือไม่ เพียงแค่เอาสายแลนเสียบกับเครื่องเทสสายแลนที่กล่าวข้างต้น ก็สามารถได้ข้อมูลที่อ่านได้จากตัวเครื่องได้
Cable Tester
เป็นเครื่องมือสำคัญที่มีไว้ใช้ตรวจสอบสัญญาณ UTP ก่อนที่จะนำไปเชื่อมต่อกับระบบจริงและยังช่วยวิเคราะห์ปัญหาบางอย่างที่เกิดขึ้นกับเครือข่ายได้ด้วย เช่น ความเร็วต่ำกว่าที่ควร เป็นต้น
Cable Tester ปกติมีฟังก์ชันการตรวจสอบ ดังนี้
- ความถูกต้องการเรียงสายสัญญาณ
- ชนิดของสายสัญญาณเป็นแบบตรง (Straight Through Cable) หรือแบบไขว้ (Cross Cable)
- ความเร็วที่สายสามารถรองรับได้ (บางรุ่น)
- ความยาวของสายสัญญาณ (บางรุ่น)
- คุณภาพของสายสัญญาณ (บางรุ่น)
- วิเคราะห์โปรโตคอลและปริมาณข้อมูล (บางรุ่น)
- วิเคราะห์ลักษณะการเชื่อมต่อกายภาพ (บางรุ่น)
Cable Tester จาก Cable Tester American Standard wire Gauge (AWG)
การอ่านค่า การทดสอบ Cable Tester American Standard wire Gauge (AWG)
- Wire Map แสดงการเข้าหัว RJ-45 หากเป็น “PASS” แสดงว่า เข้าหัวตรงกัน (Straight Though Cable) และหากเป็น “FAIL”แสดงว่าเข้าหัวต่างกัน (Cross Cable)
- Resistance เป็นค่าความต้านทางของสายสัญญาณ มีหน่วยเป็นโอห์ม(Ohms)
- Length ความยาวของสายสัญญาณที่ใช้แต่ละจุด เริ่มตั้งแต่สาย Patch Panel ในตู้ RACK จนถึงสาย Patch Panel ที่ต่อเข้ากับ Work Station สามารถเดินสายสัญญาณได้ไกลที่สุด 100 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่ยังทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ดี
- Propagation Delay เป็นค่าของเวลาที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลจากต้นทางมาถึงปลายทาง ที่สายแต่ละคู่ใช้ มีหน่วยเป็น Nanosecond (ns,10-9 second) โดยไม่ควรมีค่าเกิน 555 ns.
- Delay Skew เป็นค่าความแตกต่างของเวลา ที่ใช้ในการสื่อสารเทียบกับสานสัญญาณคู่ที่ใช้เวลาน้อยที่สุด หรือเป็นค่าความล่าช้าในการได้รับสัญญาณที่ส่งมาของแต่ละคู่โดยที่เวลาที่ใช้ในการสื่อสารของแต่ละคู่จะต้องไม่ต่างกันเกิน 50 ns. หากเกินช่วงเวลานี้อาจทำให้การติดต่อสื่อสารผิดพลาดได้
- Insertion Loss เป็นค่าการสูญเสียเนื่องจากสัญญาณรบกวน
- Impedance เป็นค่าความต้านทานของขดลวดของสายสัญญาณแต่ละคู่ มีหน่วยเป็นโอห์ม (Ohms) เนื่องจากสายสัญญาณมีการตีเกลียวของแต่ละคู่สาย ทำให้เกิดค่าความต้านทานจากการขดและพันกัน ต้องอยู่ในช่วง 85-115 Ohms
- Return Loss เป็นค่าลดทอนของสัญญาณที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลง ค่า Impedance ภายในสาย จึงทำให้เกิดการลดทอน และเกิดสัญญาณสะท้อนกลับ โดยค่าที่วัดไดควรมากกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้
- Near End Crosstalk เป็นค่าสัญญาณรบกวนที่เกิดจากคู่สายสัญญาณแต่ละคู่กระทำกัน(สัญญาณรบกวนข้ามคู่สาย) โดย บริเวณที่เกิดสัญญาณรบกวนมากที่สุดจะอยู่บริเวณต้นทาง NEXT ที่วัดได้ต้องมีค่ามากกว่า Limit จึงจะผ่าน ผลทดสอบจะแสดงเฉพาะความถี่ที่มีค่า Margin น้อยที่สุด (worst case) ของแต่ละคู่สาย ซึ่งค่าที่วัดได้ควรมากกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้
- Power Sum Near End Crosstalk เป็นค่าการรบกวนของสัญญาณระหว่างคู่สายสัญญาณคู่อื่นๆ ที่เกิดขึ้นในการทดสอบ สัญญาณคู่นั้นๆ เหมาะสำหรับระบบที่มีการใช้งานสายสัญญาณพร้อมกัน 4 คู่สาย โดยมีค่าไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้
- ACR เป็นค่าที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่าง Attenuations และ NEXT ซึ่งแสดงให้เห็นประสิทธิภาพของสายสัญญาณ โดยดูจากผลของค่าลดทอนและการรบกวนจากสายนอกควบคู่กัน ซึ่งค่า ACR ที่มากกว่ามาตรฐานจะทำให้รับส่งข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น
- PSACR เป็นค่าที่แสดงอัตราส่วน ACR ที่ได้รับการรบกวนจากคู่สายอื่นที่ทำการวัดร่วมด้วย โดยผลที่ได้จะไม่คำนึงถึงค่า PSNEXT ซึ่งควรมีค่ามากกว่ามาตรฐานที่กำหนด
- Equal level far End Crosstalk เป็นผลของการรบกวนจากสายสัญญาณคู่อื่น ที่ทำงานทดสอบสายสัญญาณคู่นั้นๆ รวมไว้ด้วยกัน โดยทำการวัดการรบกวนชนิดนี้ ทางด้านปลายทาง ซึ่งต่างกับ NEXT ที่ทำการวัดการรบกวนทางด้านต้นทาง ซึ่งค่ารบกวนมาค่ามากกว่ามาตรฐาน เช่นเดียวกับ NEXT
- PSELFEXT เป็นผลรวมของการทดสอบแบบ ELFEXT โดยเป็นการรบกวนจากสายสัญญาณคู่อื่นรบกวนสายสัญญาณที่ทำการทดสอบ ซึ่งควรมีค่ามากกว่ามาตรฐานที่กำหนด
เครื่องเช็คสายแลน FLUKE DTX-1800
การอ่านค่า เครื่องทดสอบสายสัญญาณ FLUKE Networks รุ่น DTX-1800 Cable Analyzer
- Change Media มีหน้าที่ในการเปลี่ยนหรือเลือกสายที่เราจะทำการทดสอบ หลังจากที่เราทำการเลือกสายที่จะทดสอบแล้ว ต่อไป เราก็ทำการทดสอบสายโดยการกดที่ ปุ่ม Test หลังจากนั้นเครื่องก็จะทำการทดสอบสายโดยขึ้นหน้าจอ Testing
- Resistance เป็นค่าความต้านทานของสัญญาณ มีหน่วยเป็นโอห์ม (Ohms)
- Length คือความหมายของสายสัญญาณที่ใช้แต่ละจุด เริ่มตั้งแต่สาย Patch Panel ในตู้ RACK จนถึงสาย Patch Panel ที่ต่อเข้ากับ Work Station สามารถเดินสายสัญญาณได้ไกลที่สุด 100 เมตร ซึ่งเป็นระยะที่ยังทำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ดี
- Prop. Delay เป็นค่าของเวลาที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลจากต้นทางมายังปลายทาง (Propagation Delay) ที่สายแต่ละคู่ใช้มีหน่อยเป็น nanosecond (ns,10-9 second) โดยไม่ควรมีค่าเกิน 555 ns.
- Delay Skew เป็นค่าความแตกต่างของเวลา ที่ใช้ในการสื่อสารเทียบกับสายสัญญาณคู่ที่ใช้เวลา น้อยที่สุด หรือเป็นค่าความล่าช้าในการได้นับสัญญาณที่ส่งมาของแต่ละคู่โดยที่เวลาที่ใช้ในการสื่อสารของแต่ละคู่จะต้องไม่ต่างกันเกิน 50 ns หากเกินช่วงเวลานี้อาจทำให้การติดต่อสื่อสารผิดพลาดได้
- Insertion Loss เป็นค่าการสูญเสียเนื่องจากการใส่แทรก
- Return Loss เป็นค่าลดทอนของสายสัญญาณที่เกิดจาการเปลี่ยนแปลงค่า Impedance ภายในสาย จึงทำให้เกิดการลดทอด และเกิดสัญญาณสะท้อนกลับ โดยค่าที่วัดได้ควรมากกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้
- NEXT Near End Crosstalk เป็นค่าสัญญาณรบกวนที่เกิดจากคู่สายสัญญาณแต่ละคู่กระทำกัน (สัญญาณรบกวนข้ามคู่สาย) โดยบริเวณที่เกิดสัญญาณรบกวนมากที่สุดจะอยู่บริเวณต้นทาง NEXT จะมีค่าเป็นลบในทางทฤษฏี แต่ค่าที่แสดงในผลทดสอบจะออกมาเป็นค่าบวก ดังนั้นค่า ที่วัดได้ต้องมีค่าที่มากกว่า limit จึงจะผ่าน ผลทดสอบ จะแสดงเฉพาความถี่ที่มีค่า margin น้อยที่สุด (worst case) ของแต่ละคู่สาย ซึ่งค่าที่วัดได้ควรมากกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้
- PSNEXT Power Sum Near End Crosstalk เป็นค่าการรบกวนของสายสัญญาณระหว่างคู่สายสัญญาณคู่อื่นๆ ที่เกิดขึ้นในการทดสอบสายสัญญาณคู่นั้นๆ เหมาะสำหรับระบบที่มีการใช้งานสายสัญญาณพร้อมกัน 4 คู่สาย โดยมีค่าไม่ต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนดไว้
- ACR เป็นค่าที่เกิดจากความสัมพันธ์ระหว่าง Attenuation และ NEXT ซึ่งแสดงให้เห็นประสิทธิภาพของสายสัญญาณ โดยดูจากผลของค่าลดทอนและการรบกวนจากสายนอกครบคู่กัน ซึ่งค่า ACR ที่มากกว่ามาตรฐานจะทำให้รับส่งข้อมูลได้ดียิ่งขึ้น
- PSACR เป็นค่าที่แสดงอัตราส่วน ACR ที่ได้รับการรบกวนจากคู่สายอื่นที่ทำการวัดร่วมด้วย โดยผลที่ได้จะไม่คำนึงถึงค่า PSNEXT ซึ่งควรมีค่ามากกว่ามาตรฐานที่กำหนด
- ELFEXT Equal level far End Crosstalk ซึ่งเป็นผลของการรบกวนจากสายสัญญาณคู่อื่น ที่ทำการทดสอบสายสัญญาณคู่นั้นๆ รวมไว้ด้วยกัน โดยทำการวัดการรบกวนชนิดชี้ ทางด้านปลายทาง ซึ่งต่างกับ NEXT ที่ทำการวัดการรบกวนทางด้านต้นทาง ซึ่งค่ารบกวนมีค่ามากกว่ามาตรฐาน เช่นเดียวกับ NEXT
- PSELFEXT เป็นผลรวมของการทดสอบแบบ ELFEXT โดยเป็นการรบกวนจากสายสัญญาณคู่อื่นรบกวนสายสัญญาณที่ทำการทดสอบ ซึ่งควรมีค่ามากกว่ามาตรฐานที่กำหนด
- SAVE กดปุ่ม SAVE แล้วตั้งชื่อเพื่อทำการเซฟการTEST แล้วกดปุ่ม SAVE เพื่อทำการ SAVE
- Impedance เป็นค่าความต้านทานของขดลวดของสายสัญญาณแต่ละคู่ มีหน่วยเป็นโอห์ม(Ohms)เนื่องจากสายสัญญาณมีการตีเกลียวของแต่ละคู่ละคู่สาย ทำให้เกิดค่าความต้านทานจากการขดและพันกัน ต้องอยู่ในช่วง 85-115 Ohms
การ SETUP เครื่องทดสอบสายสัญญาณ FLUKE Networks รุ่น DTX-1800 Cable Analyzer
- Twisted Pair เป็นการตั้งค่าของโหมดสาย UTP ที่เราจะนำมาทำการทดสอบ
- Test Limit เป็นการตั้งเกณฑ์การวัดของสายที่เราจะทำการทดสอบ
- Cable Type เป็นการเลือกชนิดของสายที่เราจะทำการทดสอบ
- NVP ค่าความเหนี่ยวนำในสาย
- Outlet Configuration เป็นการกำหนดมาตรฐานในการทดสอบ
- HDTDX/HDTDR การตั้งค่าการแสดงผลของการทดสอบว่า ผ่าน หรือ ไม่ผ่าน
จากบทความข้างต้น เราคงเข้าใจถึงการทดสอบสายแลน (LAN) กันแล้วว่า ทำไมต้องทดสอบสายแลน (LAN) มีวิธีการทดสอบอย่างไร มีอุปกรณ์อะไรบ้าง อ่านค่าการทดสอบอย่างไร และทุกคนคงจะเข้าใจได้ถึงความสำคัญของการทดสอบสายแลน (LAN) กันแล้ว
และถ้าหากคุณกำลังมองหาอุปกรณ์ในการทดสอบสายแลน (LAN) หรือสายแลนคุณภาพสูง ที่เหมาะกับการใช้งานของคุณ คุณสามารถติดต่อขอรายละเอียดเพิ่มเติมและรับคำปรึกษาฟรี ได้ที่
บริษัท โฟคอมม์ (ประเทศไทย) จำกัด
โทร : 02-973-1966
Admin : 063-239-3569
E-mail : info@focomm-cabling.com