ข้อควรทราบเบื้องต้นในการติดตั้งระบบสายใยแก้วนำแสง

               สารใยแก้วนำแก้ว (Fiber Optic) ที่นำมาใช้ในการสื่อสารคอมพิวเตอร์และโทรคมนาคมนั้น ควรเลือกติดตั้งในบริเวณที่สะดวกในการเข้าถึงตลอดเวลาและอยู่ในสถานที่ที่มั่นคง เช่น เสาของอาคาร หรือฝาผนัง เป็นต้น การติดตั้งสายสื่อสารจะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดในการติดตั้งของบนเสาไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวงเพื่อป้องกันการรื้อถอนและค่าใช้งานที่ตามในภายหลัง ซึ่งกฎระเบียบเบื้องต้นที่ควรทราบดังนี้

รูป MINI ADSS SINGLE JACKET CABLE
รูป ADSS SINGLE JACKET CABLE
รูป ADSS DOUBLE JACKET CABLE

      1. สายใยแก้วนำแสง (Fiber Optic) เป็นสายที่ใช้ในการสื่อสารที่ต้องขออนุญาตติดตั้งบนเสาไฟล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วัน

      2. สายสื่อสารที่ติดตั้งจะต้องผ่านการรับรองตามมาตรฐานสากล กรณีที่มีสายสะพาน (Messenger Wires) สายสะพานนั้นจะต้องไม่เป็นโลหะ (Non–Metallic Messenger Wire) เช่น สายใยแก้วนำแสงที่นิยมใช้อยู่ในปัจจุบัน เช่น ชนิด ADSS Cable

      3. การพาดสายสื่อสารของสำนักงาน กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ซึ่งจะมีมาตรฐานการพาดสาย ดังนี้

– กรณีที่เป็นสายหลัก ไม่ให้มีการพาดสายข้ามถนน ต้องติดตั้งผ่านท่อร้อยสายเท่านั้น

– กรณีที่เป็นสายรอง อนุญาณให้พาดที่ระดับความสูง 5.5 – 5.9 เมตร จากผิวจราจร 

ข้อควรระวังด้านความปลอดภัย

     – เมื่อติดตั้งในระบบที่ใช้งานจริงอาจมีการแผ่รังสีเลเซอร์ที่มองไม่เห็น อย่าจ้องมองที่ปลายด้านหน้าของตัวเชื่อมต่อหรือดูด้วยเครื่องมือออปติคัลโดยตรง

     – สวมแว่นตานิรภัยเมื่อทำงานกับใยแก้วนำแสง

     – กำจัดเศษเส้นใยทั้งหมดเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดเศษใย

 

วิธีการบำรุงรักษาจัมเปอร์ใยแก้วนำแสง

       แม้ว่าการใช้จัมเปอร์ใยแก้วนำแสงจะทำได้ง่าย แต่ก็ไม่สามารถละเลยการบำรุงรักษาประจำวันได้ การทำความสะอาดและการบำรุงรักษาที่เหมาะสมไม่เพียงทำให้การส่งสัญญาณราบรื่น แต่ยังช่วยยืดอายุการใช้งานของใยแก้วนำแสงได้ในระดับหนึ่ง

 

 ข้อดีข้อเสียของสายใยแก้วนำแสง
               ข้อดี
     1. ส่งข้อมูลด้วยความเร็วสูง
     2. ไม่มีการรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้า
     3. ส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก

     4. โครสร้างมีขนาดเล็ก และน้ำหนักเบา

     5. มีความเป็นอิสระทางไฟฟ้า และเป็นฉนวด ไม่สามารถเกิดการเหนี่ยวนำสัญญาณรบกวนจากภายนอกได้

               ข้อเสีย
     1. มีราคาแพงกว่าสายส่งข้อมูลแบบสายคู่ตีเกลียวและโคแอกเชียล
     2. ต้องใช้ความชำนาญในการติดตั้ง

     3. มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสูงกว่า สายคู่ตีเกลียวและโคแอกเชียล 

     4. สายใยแก้วเปราะบางและแตกหักง่าย

     5. การโค้งงอ ไม่สามารถโค้งงอได้เท่าสายทองแดง ยิ่งโค้งงอมากยิ่งทำให้สายเกิดค่าลดทอน (Attenuation) สูง